คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


ประวัติและความเป็นมาของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ชื่อเดิมคือ คณะวิทยาศาสตร์ ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โดยใช้ชื่อ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล โดยได้จัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์์ขึ้นที่ศูนย์กลางสถาบันเทคโนโลยี ราชมงคลเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2538
โดย รองศาสตราจารย์ ธรรมนูญ ฤทธิมณี อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลในขณะนั้น ซึ่งได้เห็นความสําคัญของการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันเป็นฐานความรู้ในการศึกษาทุกสาขาวิชาชีพ และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีีอีกทั้งในขณะนั้นประเทศกำลังขาดแคลนบุคลากรทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างมาก ดังนั้นการจัดตั้งคณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล จึงสอดคล้องตามความจําเป็นเร่งด่วนของประเทศและเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้เพียงพอต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ภายใต้การบริหารของคณบดีคณะวิทยาศาสตร์ในการดำเนินการตามภารกิจหลักของคณะฯ ในระดับอุดมศึกษา สังกัดสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลดังนี้
 (คณบดีคนแรก)
ปี พ.ศ.2538 – พ.ศ.2546                  รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยยุทธ ช่างสาร
ปี พ.ศ.2546 – พ.ศ.2549                  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุไรรัตน์ ดวงเดือน

ต่อมาในปี พ.ศ.2548 ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการศึกษา จากสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลเป็นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี และได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก คณะวิทยาศาสตร์ เป็น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จนถึงปัจจุบันภายใต้การบริหารของคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดังนี้
ปี พ.ศ.2549 – พ.ศ.2550                    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุไรรัตน์ ดวงเดือน
ปี พ.ศ.2550 – พ.ศ.2554                    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมหมาย ผิวสอาด
ปี พ.ศ.2554 – จนถึงปัจจุบัน             ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริแข  พงษ์สวัสดิ์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานนามอาคารของคณะฯ ว่า “อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบ พระชนมพรรษา” และได้รับ พระมหากรุณาธิคุณ ให้อัญเชิญตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๖ รอบ (5 ธันวาคม 2542) มาประดิษฐานประดับอาคารฯ 
นอกจากนี้คณะฯ ยังได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมฉายาลักษณ์ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบเต็มยศ ทรงฉลองพระองค์ครุยมหาจักรีบรมราชวงศ์ มาประดิษฐาน ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๖ รอบ พระชนมพรรษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อเป็นสิริมงคลแก่อาจารย์ นักศึกษา และบุคคลทั่วไป นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น อันหาที่สุดมิได้

ตลอดระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้มุ่งมั่นที่จะพัฒนาการเรียน การสอนมาโดยตลอด เพื่อเป็นคณะที่จัดการศึกษาในระดับอุดมศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ  โดยผลิตบัณฑิตคุณภาพ เป็นคนดี มีคุณธรรม และจริยธรรม นอกจากนี้ คณะฯ เน้นการจัดการศึกษาและพัฒนากำลังคนให้มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ รวมทั้งการประยุกต์ใช้กลยุทธ์การสร้างเอกลักษณ์ของคณะที่แตกต่างโดยวางเป้าหมายให้เป็นคณะทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่สมบูรณ์แบบ เน้นการบูรณาการความรู้ท้องถิ่น เข้ากับนวัตกรรมระดับสูง มีการพัฒนางานวิจัยขั้นพื้นฐาน และงานวิจัยขั้นสูง เป็นคณะที่ตอบสนองความต้องการของชุมชน ช่วยเหลือสังคมและเป็นที่ต้องการในทุกระดับวิชาชีพ ซึ่งคณะฯ   ได้วางแนวทางในการสร้างความแตกต่างไว้หลายแนวทาง ดังนี้
1.  ผลิตบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีความเชี่ยวชาญ มีคุณธรรมและมีคุณภาพสนองความต้องการของตลาดแรงงาน
2. สร้างคุณค่าความเป็นมนุษย์และความเป็นมืออาชีพของนักศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมไปสู่โลกแห่งความจริง โดยการพัฒนานักศึกษาให้มีคุณค่าความเป็นมนุษย์และมืออาชีพด้วยโครงการสหกิจศึกษาและฝึกงานวิชาชีพ
3. เน้นการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษาคิดเป็น ทำเป็น วิเคราะห์เป็น เก่งทั้งในด้านวิชาการ และวิชาชีพโดยมีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยี และภาษาต่างประเทศ ตลอดจนสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม
4. เตรียมรับมือกับการแข่งขันด้วยการสร้างคณะให้มีความพร้อมทั้งในด้านเครื่องมืออุปกรณ์ที่เหมาะสม และเพียงพอต่อการเรียนการสอน
5. จัดการเรียนการสอนเน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการจัดการศึกษาและการบริหาร
6. พัฒนางานวิจัยขั้นพื้นฐาน และงานวิจัยขั้นสูง ซึ่งนำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมใหม่
7. พัฒนาเอกลักษณ์ของคณะให้ทันสมัยและมีเอกลักษณ์ของตนเอง
8. สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างองค์กร สถาบันวิชาการทั้งภายในและต่างประเทศ

การแบ่งส่วนราชการในคณะวิทยาศาสตร์ มีดังนี้
(1) สำนักงานคณบดี
(2) ภาควิชาคณิตศาสตร์และวิทยาคอมพิวเตอร์
2.1 สาขาวิชาคณิตศาสตร์
2.2 สาขาวิชาสถิติประยุกต์
2.3 สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
2.4 สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
(3) ภาควิชาเคมี
(4) สาขาวิชาชีววิทยา
(5) สาขาวิชาฟิสิกส์


สำหรับผู้ต้องการหาโรงแรมใกล้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ห้องพักรายวันใกล้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี หอพักใกล้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี โรงแรมลำลูกกา โรงแรมปทุมธานี โรงแรมรังสิต โรงแรมสายไหม โรงแรมธัญบุรี
สามารถติดต่อได้ที่ 02-102-4532 หรือ 02-102-4533
รับชมเว็บไซต์เพิ่มเติมที่ http://www.tripletreeshotel.com
Line : tripletreeshotel  หรือทาง Fanpage : http://www.facebook.com/tripletreeshotel
instagram : https://www.instagram.com/tripletreeshotel/
เส้นทางเดินทางมาที่พัก Triple Trees Google map : https://goo.gl/FFyJ4W
เส้นทางการเดินทาง : Triple Trees 9/33 ถนนไสวประชาราษฎร์ 35 ซอยร่วมสุข 9
ลาดสวาย ลำลูกกา ปทุมธานี


คีย์เวิร์ด: โรงแรมใกล้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี,โรงแรมแถวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี,หอพักใกล้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี,หอพักแถวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี,ห้องพักรายวันใกล้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี,ห้องพักรายวันแถวมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี,โรงแรมลำลูกกา,โรงแรมปทุมธานี,โรงแรมรังสิต,โรงแรมธัญบุรี,โรงแรมสายไหม,ห้องพักรายวันลำลูกกา,ห้องพักรายวันปทุมธานี,ห้องพักรายวันรังสิต,ห้องพักรายวันธัญบุรี,ห้องพักรายวันสายไหม,โรงแรมใกล้สนามบินดอนเมือง,ห้องพักรายวันรังสิต,โรงแรมแถวดอนเมือง,ที่พักใกล้สนามบินดอนเมือง,โรงแรมดอนเมือง,ที่พักดอนเมือง,โรงแรมแถวรังสิต,โรงแรมใกล้มหาวิทยาลัยรังสิต,ที่พักใกล้ธรรมศาสตร์รังสิต,โรงแรมปทุมธานี,ที่พักปทุมธานี,ห้องพักรายวันปทุมธานี

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

แนะนำคณะบริหารธุรกิจสาขาวิชาการตลาด โดยโรงแรมใกล้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ห้องพักรายวันใกล้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

ห้องพักใกล้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

เปิดรับสมัครโควตา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี